การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ป.โท กฎหมาย

การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย ปริญญาโท นิติศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่คนเรียนกฎหมายในระดับปริญญาโทจะต้องเจอก็คือ “วิทยานิพนธ์” ที่เรียกติดปากกันว่า ทีสิส (thesis/dissertation) ซึ่งเจ้าวิทยานิพนธ์นี่เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจบ ป.โท นิติศาสตร์ จะจบไม่จบก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จและสอบป้องกันผ่านหรือไม่ ทว่า งานยากแรก ๆ ของการทำวิทยานิพนธ์ก็คือ จะไปหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากไหนกันล่ะ ถ้าเราเข้าใจจุดตัดที่แตกต่างระหว่างการเรียนกฎหมายปริญญาตรีกับปริญญาโทได้ เราจะเริ่มพอเข้าใจว่าควรจะงมหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากไหน ในชั้นปริญญาตรี ความต้องการสำคัญก็คือ นิสิตนักศึกษาที่มาเรียนคณะนิติศาสตร์ต้องรู้และเข้าใจตัวบทกฎหมาย วิธีคิดทางกฎหมาย รวมไปถึงสามารถนำกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้ แต่ในระดับปริญญาโท มันเป็นเรื่องของการทำวิจัยศึกษาค้นคว้าเชิงลึกลงไปว่า ทำไมกฎหมายถึงเป็นแบบนี้ (ทำไมกฎหมายไม่เป็นแบบนั้นแทน) เรื่องนี้มีทฤษฎีสำคัญเบื้องหลังอะไร และเราสามารถชี้ไปถึงปัญหา ศึกษา ค้นคว้า หาข้อสรุป หรือให้ข้อเสนอแนะอะไรกับวงการนิติศาสตร์ได้ไหม ๑. […]

ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: แนะนำหนังสือ

แนะนำหนังสือ: ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ – มุนินทร์ พงศาปาน ก่อนที่จะมีหนังสือ “ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: จากกฎหมายสิบสองโต๊ะสู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ของ ผศ.ดร. มุนินทร์ พงศาปาน ออกสู่ท้องตลาด ในความคิดของผมนั้น วงการหนังสือกฎหมายของไทยขาดหนังสือเล่มที่อธิบายอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ (Civil Law) ที่อรรถาธิบายอย่างดีว่าเพราะอะไรหรือเหตุผลประกอบใดถึงยืนยันว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ ซึ่งคุณูปการสำคัญยิ่งของหนังสือเล่มนี้ของอาจารย์มุนินทร์ คือ การอธิบาย การให้ความรู้ การตอบคำถาม และการเพิ่มแหล่งอ้างอิงให้แก่วงการวิชาการไทยต่อไปว่า ประเทศใช้นั้นใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ แม้นิสิตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์น่าจะได้เรียนกันตั้งแต่ปีหนึ่งว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ แต่ความเข้าใจผิด ๆ ก็ยังคงมีอยู่มาก เช่น หลายคนก็จำแต่เพียงว่าระบบกฎหมายซีวิลลอว์คือระบบกฎหมายที่ใช้ประมวลหรือมีประมวลกฎหมายเท่านั้น และพอเรียนกฎหมายไปสักพักในชั้นปีโต ๆ ก็เริ่มเห็นว่าบางครั้งแนวทางตีความกฎหมายของศาลก็ดูจะคล้ายกับแนวทางของระบบกฎหมายคอมมอลอว์ […]

ภาษากฎหมาย: ประเด็นปัญหาและข้อชวนขบคิด

ภาษากฎหมาย

ภาษากฎหมาย: เรื่องชวนคิดและประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง บทความโดย ศรัณย์ พิมพ์งาม วงการหรือศาสตร์ต่าง ๆ ล้วนมีการใช้คำศัพท์หรือภาษาที่แตกต่างไปจากปกติ ดังเช่นในวงการกฎหมายก็จะมี “ภาษากฎหมาย” หรือคำศัพท์เกี่ยวกับกฎหมายที่รู้และเข้าใจกันในวงการ ซึ่งมักจะสร้างความแปลกใจให้กับคนที่ไม่ได้เรียนกฎหมาย เพื่อนที่แยกจากกันไปเรียนต่างคณะก็มักจะตกอกตกใจที่เพื่อนผู้เรียน คณะนิติศาสตร์ พูดภาษาอะไรแปลก ๆ ใส่ ซึ่งในบทความนี้ผมจะพาเดินชมวงการกฎหมายว่าพวกเขามีการใช้ภาษาเหมือนหรือแตกต่างจากปกติอย่างไรกันบ้าง 1. ภาพรวมเกี่ยวกับ ภาษากฎหมาย จากเด็กม.ปลายวัยใส เมื่อพวกเขาได้ก้าวเข้ามาเรียนคณะนิติศาสตร์แล้ว เวลา 3-4 ปีในคณะนี้จะเปลี่ยนการรับรู้เรื่องภาษาของพวกเขาแตกต่างออกไปจากคนปกติ ซึ่งอันที่จริงในแต่ละศาสตร์วิชาก็มีกระบวนเช่นนี้เป็นปกติ โดยเฉพาะคณะที่ทำการสอนในลักษณะของวิชาชีพ เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่า คณะเหล่านี้สร้างกำแพงป้องกันคนนอกศาสตร์ด้วยการมีกฎเกณฑ์บางอย่างอันรวมไปถึงเรื่องของภาษาในการกีดกันคนนอก ยกตัวอย่างเช่น ศาสตร์เกี่ยวกับบัญชีก็จะมีภาษาทางบัญชีที่ใช้กัน ซึ่งเราจะต้องอาศัยนักบัญชีในการให้บริการเกี่ยวกับบัญชีโดยเฉพาะอย่างยิ่งบัญชีเชิงลึก ที่เห็นภาพชัดก็คือการสร้างมาตรฐานทางบัญชีขึ้นมา อันทำให้คำบางคำมีความหมายเฉพาะในทางบัญชีที่คนในวงการหรือเฉพาะคนที่ศึกษาเรื่องของบัญชีเท่านั้นถึงจะเข้าใจ […]

ข้อสอบกฎหมาย: วิธีการตอบและตัวอย่าง

ข้อสอบกฎหมาย

ข้อสอบกฎหมาย วิธีเขียนตอบและตัวอย่าง Facebook: Business Analysis of Law โดย ศรัณย์ พิมพ์งาม และคณะ การเขียนตอบ ข้อสอบกฎหมาย เป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิตของการเรียนนิติศาสตร์ เพราะคะแนนส่วนใหญ่ที่จะทำให้เราผ่านแต่ละวิชาไปได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในหัว ผ่านการเขียนออกมาบนสมุดคำตอบ และการเขียนตอบ ข้อสอบกฎหมาย ก็จะเป็นเรื่องปกติดังเช่นที่ประเทศไทยต้องมีฤดูร้อน ฤดูฝน เพราะเราจะเจอมันทั้งตอนเรียนปริญญาตรี ตอนเรียนเนติบัณฑิต และทั้งตอนที่ลงสนามสอบวิชาชีพทั้งผู้พิพากษาและอัยการ การเขียนตอบ ข้อสอบกฎหมาย จึงเป็นหนึ่งทักษะสำคัญที่นิสิต-นักศึกษาวิชากฎหมาย จำต้องให้ความสำคัญ สำหรับนิสิตนักศึกษาชั้นปีแรกของคณะนิติศาสตร์ หลายคนคงตกใจกับข้อสอบเทอมแรกที่ทุกอย่างจำต้องเขียน เขียน และก็เขียน ข้อสอบคณะนิติศาสตร์เกือบทั้งหมดเป็นข้อสอบอัตนัย ไม่ค่อยจะมีข้อสอบปรนัยให้เห็นสักเท่าไหร่ (นานครั้งมาก […]

แปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้

แปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้

โดย ศรัณย์ พิมพ์งามและ ปัณณธร เขื่อนแก้ว อ่านบทความฉบับเต็ม [View Full PDF] การแปลงหนี้ใหม่ (novation) เป็นเหตุที่ทำให้หนี้ระงับสิ้นไปวิธีหนึ่ง โดยเกิดจากการทำสัญญาตกลงกันเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ และมีเจตนาที่จะระงับหนี้เดิมมาผูกพันกันตามหนี้ใหม่ หรืออาจอธิบายได้ว่า การแปลงหนี้ใหม่เป็นการก่อหนี้ใหม่ขึ้นโดยอาศัยหนี้เดิม ถ้าหนี้เดิมไม่มีอยู่หนี้ใหม่ก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน และถ้าหนี้ใหม่ไม่เกิดขึ้น หนี้เดิมก็ไม่ระงับลง ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น นาย ก และนาย ข ทำสัญญาซื้อขายกัน โดยนาย ข เป็นผู้ซื้อ แต่นาย ข หาเงินมาจ่ายราคาของไม่ได้ ทั้งคู่จึงตกลงทำการแปลงหนี้ใหม่ โดยตกลงแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายไปเป็นสัญญากู้ยืมเงินแทน ผลทางกฎหมายคือหนี้เดิมได้แก่หนี้ตามสัญญาซื้อขายเป็นอันระงับ […]

มาตรา 1337: การสร้างความเดือดร้อนแก่เจ้าของอสังหาฯ

มาตรา 1337

มาตรา 1337 – เครื่องมือในการบำบัดความเดือดร้อนสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ บทความโดย ศรัณย์ พิมพ์งาม มาตรา 1337 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองสิทธิบางอย่างแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ นั่นก็คือ เรื่องของการทำละเมิดให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อน เช่น เราเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน แล้ววันหนึ่งดันมีใครสักคนมาสร้างความเสียหายเดือดร้อนบางอย่าง ที่ทำให้เราผู้เป็นเจ้าของบ้านหรือที่ดินนั้นเดือดร้อนเกินควร เราจะมีสิทธิใดบ้าง ในการระงับความเสียหายเดือดร้อนที่เกิดขึ้น? โดยปกติเมื่อเราเป็นเจ้าของทรัพย์สินใด ซึ่งในภาษากฎหมายคือบุคคลมี “กรรมสิทธิ์” ในทรัพย์สินใด ผู้นั้นย่อมมีซึ่งอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่มีลักษณะเป็นสิทธิเด็ดขาด (absolute right) ชอบที่จะใช้อำนาจในกรรมสิทธิ์นั้นได้ทันทีหรือโดยพลการ ไม่ต้องไปขออนุญาตใครหรือไม่จำเป็นต้องร้องขอต่อศาลบังคับให้1 ดังนั้น เขาย่อมมีสิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล หรือติดเอาเอาคืนจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดทรัพย์สินเราไว้ รวมไปถึงมีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเราโดยชอบด้วยกฎหมาย […]

กฎหมายจีน: ระบบกฎหมายประเทศจีนเบื้องต้น

กฎหมายจีน

กฎหมายจีน : ความรู้เบื้องต้นในภาพรวม  Facebook: Business Analysis of Law โดย ศรัณย์ พิมพ์งามและ ปัณณธร เขื่อนแก้ว จีน (中国 – ดินแดนที่เป็นศูนย์กลาง) หรือ สาธารณรัฐประชาชนจีน (the People’s Republic of China: PRC) สถาปนาขึ้นเมื่อ 1 ตุลาคม (เป็นวันชาติ) ค.ศ. 1949 ภายหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์โดยเหมา เจ๋อตง มีชัยชนะ และได้ใช้แนวคิดการบริหารประเทศแบบสังคมนิยมเคร่งครัด […]

ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากบุตร: คำพิพากษาศาลฎีกาไต้หวัน

paying for upbringing

พ่อแม่ฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากบุตรได้หรือไม่? โดย ศรัณย์ พิมพ์งามและ ปัณณธร เขื่อนแก้ว สืบเนื่องจากข่าวที่ว่า ศาลฎีกาของไต้หวันมีคำพิพากษาให้บุตรชายผู้เป็นทันตแพทย์ต้องจ่ายเงินคืนแม่ของตนราว 20 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน (หนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ) ซึ่งถือเป็นค่าเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนที่แม่ได้ส่งเสียให้ โดยบังคับตามข้อตกลงในสัญญาที่เขาได้ทำขึ้นไว้กับแม่ของตนก่อนหน้านี้ (BBC, NYT, the Guardian and Taiwan News) ข้อเท็จจริงตามข่าวมีอยู่ว่า บุตรชายไม่ยอมจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนที่แม่ได้ส่งเสียให้จนจบคณะทันตแพทย์ ตามสัญญาที่เขาได้เคยตกลงไว้กับแม่ของตน (ผู้เป็นแม่เป็นหญิงม่ายซึ่งได้ส่งเสียเลี้ยงดูบุตรเพียงคนเดียว) เนื้อหาของสัญญา คือ ลูกชายจะต้องมอบเงินจำนวน 60% ของรายได้คืนแก่แม่ของตนหลังจากเรียนจบและทำงานแล้ว ต่อมาลูกชายบ่ายเบี่ยงไม่ยอมจ่าย แม่จึงฟ้องร้องเรียกเงินตามข้อตกลงในสัญญา ซึ่งทางฝ่ายลูกชายได้ยกข้อต่อสู้ว่าสัญญานี้ไม่เป็นธรรมและควรเสียเปล่าไป โดยบุตรชายยังได้ยกเรื่องของจารีตอันดีงาม (Good Custom) ขึ้นต่อสู้ว่าการส่งเสียเลี้ยงดูบุตรย่อมไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่จะนำมาตีค่าราคาเป็นเงินได้ […]

หนังสือกฎหมาย เล่มไหนดี?: แนะนำหนังสือกฎหมายแต่ละวิชา

หนังสือกฎหมาย

หนังสือกฎหมาย เล่มไหนดี ? Facebook: Business Analysis of Law โดย ศรัณย์ พิมพ์งามและ ปัณณธร เขื่อนแก้ว ปรับปรุงบทความใหม่วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ตำรากฎหมายเล่มไหนดีนะ? ดูจะเป็นคำถามที่วนมาทุกปีสำหรับนิสิตนักศึกษาที่ เรียนคณะนิติศาสตร์ เพราะพวกเราย่อมหนีไม่พ้นการอ่านหนังสือกฎหมายเป็นตั้ง ๆ เอาแค่ปีหนึ่งปีเดียวก็อาจจะต้องอ่านเยอะกว่าตอนที่แอดมิดชั่นเข้าคณะนิติมาเสียอีก หลายคนอาจจะมีปัญหาว่าหนังสือกฎหมายที่มีเยอะแยะมากมายนั้น ด้วยเวลาอันน้อยนิด ควรจะตัดสินใจเลือกอ่านเล่มไหนดี จึงจะคุ้มค่ามากที่สุด บทความนี้จึงพยายามรวบรวมหนังสือที่(ผมคิดว่า)ควรอ่าน ซึ่งแน่นอนว่าไม่อาจจะเขียนบรรยายได้ครบทุกเล่ม จึงพยายามรีวิวเล่มที่เคยมีประสบการณ์เคยอ่านมา ด้วยเหตุนี้การแนะนำหนังสือจึงมีความเป็นอัตวิสัยระดับหนึ่ง เพราะเล่มที่ผมเห็นว่าดี คนอื่นอาจจะไม่คิดว่าดีก็ได้ ให้ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และนำไปใช้เป็นข้อพิจารณาอย่างหนึ่งในการตัดสินใจซื้อและเลือกอ่านหนังสือของผู้อ่านแต่ละท่าน *โดยลักษณะการเขียนชื่อหนังสือ คือ ชื่อหนังสือ – […]