ชีวิตเรามีแค่ 4000 สัปดาห์: แนะนำหนังสือ

แนะนำหนังสือ: ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์ หนึ่งในหนังสือเล่มล่าสุดที่ผมอ่านแล้วพบว่าเปิดมุมมองความคิดหลายด้านมาก ๆ ก็คือ หนังสือชื่อ “ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์” (Four Thousand Weeks: Time Management for Mortals) ของ Oliver Burkeman ซึ่งเสนอมุมมองอีกด้านเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลา ใจความของหนังสือเล่มนี้คือพุ่งเป้าไปยังแนวคิดเรื่องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคำแนะนำที่บอกให้เราบริหารจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ว่ามันมีอะไรผิดพลาดตรงไหนรึเปล่ากับแนวคิดและคำแนะนำเช่นนี้ 1. สี่พันสัปดาห์ที่จำกัด Burkeman ปูพื้นเราด้วยภาพที่ว่า เราน่าจะอยู่ได้จนถึงอายุ 80 ปี และนั่นเท่ากับเราจะมีเวลาในชีวิตทั้งหมดประมาณ 4,000 สัปดาห์เอง พร้อมกับย้ำถึงสิ่งธรรมดาสามัญว่า อย่าลืมว่าเราทุกคนก็จะตาย ซึ่งไม่รู้ว่าจะตายตอนไหนด้วย เราไม่ได้มีเวลาเหลือล้นอะไรขนาดนั้น เราต้องไม่ลืมว่าเรามี […]

ถอดรหัสความอ้วน: แนะนำหนังสือ

แนะนำหนังสือ: The Obesity Code วิทยาศาสตร์ความอ้วน Jason Fung. The Obesity Code: วิทยาศาสตร์ความอ้วน. แปลโดย ลลิตา ผลผลา. กรุงเทพฯ: Bookscape, 2564. หนังสือวิทยาศาสตร์ความอ้วนเขียนโดยแพทย์แคนาดาชื่อ เจสัน เผิง เล่าเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความอ้วน การต่อสู้กันของผลการศึกษาเกี่ยวกับโรคอ้วนและโภชนาการ รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาโรคอ้วน ถ้าได้อ่านแล้วเราจะเข้าใจและเห็นภาพของการสู้รบกันในแวดวงการศึกษาโรคอ้วน โดยเฉพาะการต่อสู้กันของคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและอุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์หลายอย่าง ส่วนเรื่องแนวทางเกี่ยวกับการลดความอ้วน หนังสือเล่มนี้ก็อธิบายไว้อย่างดี ตั้งแต่สาเหตุของโรคอ้วน ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความเชื่อและหลักฐานเกี่ยวกับความอ้วน สิ่งต้องห้ามและสิ่งที่ควรทำเพื่อต่อสู้กับโรคอ้วน พร้อมกับคำแนะนำเรื่องการลดความอ้วน ผู้เขียนบรรยายภาพความเป็นมาเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องโรคอ้วนในแต่ละยุคสมัย โดยเฉพาะการสถาปนาของศาสตร์ความรู้ทางโภชนาการ (Nutrition) โดยเฉพาะกระแสความนิยมครั้งสำคัญของวงการเกี่ยวกับการเปลี่ยนรายละเอียดยิบย่อยของอาหารแต่ละชนิด […]

ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: แนะนำหนังสือ

แนะนำหนังสือ: ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ – มุนินทร์ พงศาปาน ก่อนที่จะมีหนังสือ “ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: จากกฎหมายสิบสองโต๊ะสู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ของ ผศ.ดร. มุนินทร์ พงศาปาน ออกสู่ท้องตลาด ในความคิดของผมนั้น วงการหนังสือกฎหมายของไทยขาดหนังสือเล่มที่อธิบายอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ (Civil Law) ที่อรรถาธิบายอย่างดีว่าเพราะอะไรหรือเหตุผลประกอบใดถึงยืนยันว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ ซึ่งคุณูปการสำคัญยิ่งของหนังสือเล่มนี้ของอาจารย์มุนินทร์ คือ การอธิบาย การให้ความรู้ การตอบคำถาม และการเพิ่มแหล่งอ้างอิงให้แก่วงการวิชาการไทยต่อไปว่า ประเทศใช้นั้นใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ แม้นิสิตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์น่าจะได้เรียนกันตั้งแต่ปีหนึ่งว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ แต่ความเข้าใจผิด ๆ ก็ยังคงมีอยู่มาก เช่น หลายคนก็จำแต่เพียงว่าระบบกฎหมายซีวิลลอว์คือระบบกฎหมายที่ใช้ประมวลหรือมีประมวลกฎหมายเท่านั้น และพอเรียนกฎหมายไปสักพักในชั้นปีโต ๆ ก็เริ่มเห็นว่าบางครั้งแนวทางตีความกฎหมายของศาลก็ดูจะคล้ายกับแนวทางของระบบกฎหมายคอมมอลอว์ […]

China 5.0 – อาร์ม ตั้งนิรันดร: แนะนำหนังสือ

China 5.0 - อาร์ม ตั้งนิรันดร

แนะนำหนังสือ: China 5.0 หนังสือ China 5.0: สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่และแผนการใหญ่ AI เขียนโดย ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร (ผมขออนุญาตเรียกต่อไปว่า “อาจารย์อาร์ม” หรือ “ผู้เขียน”) หนึ่งในผู้ที่เชี่ยวชาญและมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องราวของประเทศจีนเป็นอย่างดี หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ คือ (ก) เรื่องของการเมืองซึ่งเขียนปูเรื่องราวเกี่ยวกับสีจิ้นผิง (ข) เรื่องของเศรษฐกิจ และ (ค) เรื่องของแผนพัฒนาเกี่ยวกับ AI (Artificial Intelligence) ซึ่งแต่ละบทมีความสอดคล้องกันเพื่อแสดงให้เห็นพัฒนาการของจีนในอดีตจนถึงปัจจุบันทั้งในส่วนของการเมืองและเศรษฐกิจ รวมไปถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่จีนจะต้องวางแผนพัฒนาไปสู่อนาคตข้างหน้า เพราะโลกยุคใหม่ไม่ใช่โลกของอังกฤษ สหรัฐฯ หรือเยอรมนี […]