การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ป.โท กฎหมาย

การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย ปริญญาโท นิติศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่คนเรียนกฎหมายในระดับปริญญาโทจะต้องเจอก็คือ “วิทยานิพนธ์” ที่เรียกติดปากกันว่า ทีสิส (thesis/dissertation) ซึ่งเจ้าวิทยานิพนธ์นี่เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจบ ป.โท นิติศาสตร์ จะจบไม่จบก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จและสอบป้องกันผ่านหรือไม่ ทว่า งานยากแรก ๆ ของการทำวิทยานิพนธ์ก็คือ จะไปหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากไหนกันล่ะ ถ้าเราเข้าใจจุดตัดที่แตกต่างระหว่างการเรียนกฎหมายปริญญาตรีกับปริญญาโทได้ เราจะเริ่มพอเข้าใจว่าควรจะงมหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากไหน ในชั้นปริญญาตรี ความต้องการสำคัญก็คือ นิสิตนักศึกษาที่มาเรียนคณะนิติศาสตร์ต้องรู้และเข้าใจตัวบทกฎหมาย วิธีคิดทางกฎหมาย รวมไปถึงสามารถนำกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้ แต่ในระดับปริญญาโท มันเป็นเรื่องของการทำวิจัยศึกษาค้นคว้าเชิงลึกลงไปว่า ทำไมกฎหมายถึงเป็นแบบนี้ (ทำไมกฎหมายไม่เป็นแบบนั้นแทน) เรื่องนี้มีทฤษฎีสำคัญเบื้องหลังอะไร และเราสามารถชี้ไปถึงปัญหา ศึกษา ค้นคว้า หาข้อสรุป หรือให้ข้อเสนอแนะอะไรกับวงการนิติศาสตร์ได้ไหม ๑. […]

ทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์ของ Hans Kelsen

Pure Theory of Law: Hans Kelsen Hans Kelsen (ฮันส์ เคลเซ่น) คือ นักนิติศาสตร์ผู้ที่มีเป้าหมายในการแยกวิชา “นิติศาสตร์” (science of law – jurisprudence) ออกจากศีลธรรม ความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม จริยศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา ชีววิทยา เทววิทยา การเมือง ฯลฯ โดยเคลเซ่นมองว่าเราควรจะต้องแยก “กฎหมายที่เป็นอยู่” กับ “กฎหมายที่ควรจะเป็น” ออกจากกัน เพราะมันมีความแตกต่างกันอย่างมาก หากเราต้องการจะทำให้วิชานิติศาสตร์มีลักษณะเป็นศาสตร์อย่างแท้จริง จะต้องทำให้วิชานิติศาสตร์มุ่งอธิบายกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่จริงในบ้านเมือง […]

การเลือกปฏิบัติในการเลือกลูกขุน

การเลือกปฏิบัติในการเลือกลูกขุน บทความโดย ศรัณย์ พิมพ์งาม หากใครดูหนังที่มีฉากเกี่ยวกับคดีอาญาจากฝั่งสหรัฐอเมริกา เราจะเห็นว่ากระบวนพิจารณาคดีอาญาในสหรัฐอเมริกาใช้ระบบลูกขุน (Jury System) เป็นเอกลักษณ์ติดตา (ขนาดคนอเมริกันเองก็เห็นจนชินตาผ่านหนังด้วย)1 คราวนี้มีคำถามว่า ระบบการคัดเลือกลูกขุนของสหรัฐ ป้องกันปัญหาการเลือกปฏิบัติจากเชื้อชาติ (Racial Discrimination) ที่คุ้นหูหน่อยก็คือ ป้องกันการเหยียดเชื้อชาติ เหยียดผิวอย่างไร ทำอย่างไรให้องค์คณะลูกขุนประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ สีผิว ผลจากการศึกษาพบว่า เรื่องนี้ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่นักกฎหมายของสหรัฐอเมริกาต้องการแก้ไขปัญหาอยู่ครับ 1. ลูกขุนคือใครและระบบลูกขุนคืออะไร ในเชิงทฤษฎีกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ลูกขุนมีอำนาจอย่างมากและแทบจะไม่ถูกควบคุมโดยใคร2 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน (Right to Trial by Jury) เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ระบบลูกขุนตั้งอยู่บนรากฐานความคิดและความเชื่อที่ว่า การใช้คนธรรมดาสามัญในการตัดสินคดีจะอำนวยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย […]

ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: แนะนำหนังสือ

แนะนำหนังสือ: ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ – มุนินทร์ พงศาปาน ก่อนที่จะมีหนังสือ “ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: จากกฎหมายสิบสองโต๊ะสู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ของ ผศ.ดร. มุนินทร์ พงศาปาน ออกสู่ท้องตลาด ในความคิดของผมนั้น วงการหนังสือกฎหมายของไทยขาดหนังสือเล่มที่อธิบายอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ (Civil Law) ที่อรรถาธิบายอย่างดีว่าเพราะอะไรหรือเหตุผลประกอบใดถึงยืนยันว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ ซึ่งคุณูปการสำคัญยิ่งของหนังสือเล่มนี้ของอาจารย์มุนินทร์ คือ การอธิบาย การให้ความรู้ การตอบคำถาม และการเพิ่มแหล่งอ้างอิงให้แก่วงการวิชาการไทยต่อไปว่า ประเทศใช้นั้นใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ แม้นิสิตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์น่าจะได้เรียนกันตั้งแต่ปีหนึ่งว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ แต่ความเข้าใจผิด ๆ ก็ยังคงมีอยู่มาก เช่น หลายคนก็จำแต่เพียงว่าระบบกฎหมายซีวิลลอว์คือระบบกฎหมายที่ใช้ประมวลหรือมีประมวลกฎหมายเท่านั้น และพอเรียนกฎหมายไปสักพักในชั้นปีโต ๆ ก็เริ่มเห็นว่าบางครั้งแนวทางตีความกฎหมายของศาลก็ดูจะคล้ายกับแนวทางของระบบกฎหมายคอมมอลอว์ […]

ชอบกฎหมายวิชาไหนกันบ้าง: มุมมองจากเพื่อนต่างชาติ

ระหว่างที่ผมได้เรียนกฎหมายอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ คำถามหนึ่งที่ติดปากผมและมักจะถามเพื่อนที่สนิทกันระดับหนึ่งก็คือ “ตั้งแต่เรียนกฎหมายมา ชอบกฎหมายวิชาไหนที่สุด?” โดยปกติแล้ว ผมจะได้ยินได้ฟังคำตอบที่น่าสนใจที่หลายครั้งก็กระตุ้นความคิดให้เรากลับมาสนใจกฎหมายที่เพื่อนชอบ เพราะคำตอบส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยตรงกับวิชาที่คุณชอบสักเท่าไหร่ แต่นั่นล่ะครับ มันคือเสน่ห์และความหลากหลายของนักเรียนกฎหมาย เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะถนัดไปทุกกฎหมาย (แต่ก็มีคนแบบนี้เหมือนกัน ฮ่า ๆ) และบางคนแม้จะถนัดบางกฎหมายแต่อาจจะชอบบางกฎหมายมากกว่าก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน จากการถามเพื่อนต่างชาติมาหลายคน ผมก็ได้รับคำตอบจำนวนหนึ่ง ดังนี้ ชอบกฎหมายเครื่องหมายการค้าเพราะมันใช้สามัญสำนึกและสัญชาตญาณ (common sense and instinct) มาตอบได้ มีเพื่อนของผมสองคนที่ชอบกฎหมายเครื่องหมายการค้า (Trademark) คนหนึ่งคือ L. จากเยอรมัน คนนี้เป็นชายที่เก่งกฎหมายในหลายสาขามาก L. สามารถตอบและแสดงความเห็นได้ดีในหลายวิชาที่ผมเรียนด้วย ในหมู่เพื่อนนักเรียนกฎหมายจากเยอรมันก็ยอมรับว่า L. คือที่พึ่งด้านกฎหมายของพวกเขา และคืนวันหนึ่งระหว่างปั่นจักรยานกลับหอพัก […]

ภาษากฎหมาย: ประเด็นปัญหาและข้อชวนขบคิด

ภาษากฎหมาย

ภาษากฎหมาย: เรื่องชวนคิดและประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง บทความโดย ศรัณย์ พิมพ์งาม วงการหรือศาสตร์ต่าง ๆ ล้วนมีการใช้คำศัพท์หรือภาษาที่แตกต่างไปจากปกติ ดังเช่นในวงการกฎหมายก็จะมี “ภาษากฎหมาย” หรือคำศัพท์เกี่ยวกับกฎหมายที่รู้และเข้าใจกันในวงการ ซึ่งมักจะสร้างความแปลกใจให้กับคนที่ไม่ได้เรียนกฎหมาย เพื่อนที่แยกจากกันไปเรียนต่างคณะก็มักจะตกอกตกใจที่เพื่อนผู้เรียน คณะนิติศาสตร์ พูดภาษาอะไรแปลก ๆ ใส่ ซึ่งในบทความนี้ผมจะพาเดินชมวงการกฎหมายว่าพวกเขามีการใช้ภาษาเหมือนหรือแตกต่างจากปกติอย่างไรกันบ้าง 1. ภาพรวมเกี่ยวกับ ภาษากฎหมาย จากเด็กม.ปลายวัยใส เมื่อพวกเขาได้ก้าวเข้ามาเรียนคณะนิติศาสตร์แล้ว เวลา 3-4 ปีในคณะนี้จะเปลี่ยนการรับรู้เรื่องภาษาของพวกเขาแตกต่างออกไปจากคนปกติ ซึ่งอันที่จริงในแต่ละศาสตร์วิชาก็มีกระบวนเช่นนี้เป็นปกติ โดยเฉพาะคณะที่ทำการสอนในลักษณะของวิชาชีพ เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่า คณะเหล่านี้สร้างกำแพงป้องกันคนนอกศาสตร์ด้วยการมีกฎเกณฑ์บางอย่างอันรวมไปถึงเรื่องของภาษาในการกีดกันคนนอก ยกตัวอย่างเช่น ศาสตร์เกี่ยวกับบัญชีก็จะมีภาษาทางบัญชีที่ใช้กัน ซึ่งเราจะต้องอาศัยนักบัญชีในการให้บริการเกี่ยวกับบัญชีโดยเฉพาะอย่างยิ่งบัญชีเชิงลึก ที่เห็นภาพชัดก็คือการสร้างมาตรฐานทางบัญชีขึ้นมา อันทำให้คำบางคำมีความหมายเฉพาะในทางบัญชีที่คนในวงการหรือเฉพาะคนที่ศึกษาเรื่องของบัญชีเท่านั้นถึงจะเข้าใจ […]

ข้อสอบกฎหมาย: วิธีการตอบและตัวอย่าง

ข้อสอบกฎหมาย

ข้อสอบกฎหมาย วิธีเขียนตอบและตัวอย่าง Facebook: Business Analysis of Law โดย ศรัณย์ พิมพ์งาม และคณะ การเขียนตอบ ข้อสอบกฎหมาย เป็นสิ่งที่สำคัญมากในชีวิตของการเรียนนิติศาสตร์ เพราะคะแนนส่วนใหญ่ที่จะทำให้เราผ่านแต่ละวิชาไปได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกฎหมายในหัว ผ่านการเขียนออกมาบนสมุดคำตอบ และการเขียนตอบ ข้อสอบกฎหมาย ก็จะเป็นเรื่องปกติดังเช่นที่ประเทศไทยต้องมีฤดูร้อน ฤดูฝน เพราะเราจะเจอมันทั้งตอนเรียนปริญญาตรี ตอนเรียนเนติบัณฑิต และทั้งตอนที่ลงสนามสอบวิชาชีพทั้งผู้พิพากษาและอัยการ การเขียนตอบ ข้อสอบกฎหมาย จึงเป็นหนึ่งทักษะสำคัญที่นิสิต-นักศึกษาวิชากฎหมาย จำต้องให้ความสำคัญ สำหรับนิสิตนักศึกษาชั้นปีแรกของคณะนิติศาสตร์ หลายคนคงตกใจกับข้อสอบเทอมแรกที่ทุกอย่างจำต้องเขียน เขียน และก็เขียน ข้อสอบคณะนิติศาสตร์เกือบทั้งหมดเป็นข้อสอบอัตนัย ไม่ค่อยจะมีข้อสอบปรนัยให้เห็นสักเท่าไหร่ (นานครั้งมาก […]

แปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้

แปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้

โดย ศรัณย์ พิมพ์งามและ ปัณณธร เขื่อนแก้ว อ่านบทความฉบับเต็ม [View Full PDF] การแปลงหนี้ใหม่ (novation) เป็นเหตุที่ทำให้หนี้ระงับสิ้นไปวิธีหนึ่ง โดยเกิดจากการทำสัญญาตกลงกันเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ และมีเจตนาที่จะระงับหนี้เดิมมาผูกพันกันตามหนี้ใหม่ หรืออาจอธิบายได้ว่า การแปลงหนี้ใหม่เป็นการก่อหนี้ใหม่ขึ้นโดยอาศัยหนี้เดิม ถ้าหนี้เดิมไม่มีอยู่หนี้ใหม่ก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน และถ้าหนี้ใหม่ไม่เกิดขึ้น หนี้เดิมก็ไม่ระงับลง ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น นาย ก และนาย ข ทำสัญญาซื้อขายกัน โดยนาย ข เป็นผู้ซื้อ แต่นาย ข หาเงินมาจ่ายราคาของไม่ได้ ทั้งคู่จึงตกลงทำการแปลงหนี้ใหม่ โดยตกลงแปลงหนี้จากสัญญาซื้อขายไปเป็นสัญญากู้ยืมเงินแทน ผลทางกฎหมายคือหนี้เดิมได้แก่หนี้ตามสัญญาซื้อขายเป็นอันระงับ […]