ถอดรหัสความอ้วน

แนะนำหนังสือ: The Obesity Code วิทยาศาสตร์ความอ้วน Jason Fung. The Obesity Code: วิทยาศาสตร์ความอ้วน. แปลโดย ลลิตา ผลผลา. กรุงเทพฯ: Bookscape, 2564. หนังสือวิทยาศาสตร์ความอ้วนเขียนโดยแพทย์แคนาดาชื่อ เจสัน เผิง เล่าเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความอ้วน การต่อสู้กันของผลการศึกษาเกี่ยวกับโรคอ้วนและโภชนาการ รวมถึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาโรคอ้วน ถ้าได้อ่านแล้วเราจะเข้าใจและเห็นภาพของการสู้รบกันในแวดวงการศึกษาโรคอ้วน โดยเฉพาะการต่อสู้กันของคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการและอุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์หลายอย่าง ส่วนเรื่องแนวทางเกี่ยวกับการลดความอ้วน หนังสือเล่มนี้ก็อธิบายไว้อย่างดี ตั้งแต่สาเหตุของโรคอ้วน ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความเชื่อและหลักฐานเกี่ยวกับความอ้วน สิ่งต้องห้ามและสิ่งที่ควรทำเพื่อต่อสู้กับโรคอ้วน พร้อมกับคำแนะนำเรื่องการลดความอ้วน ผู้เขียนบรรยายภาพความเป็นมาเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องโรคอ้วนในแต่ละยุคสมัย โดยเฉพาะการสถาปนาของศาสตร์ความรู้ทางโภชนาการ (Nutrition) โดยเฉพาะกระแสความนิยมครั้งสำคัญของวงการเกี่ยวกับการเปลี่ยนรายละเอียดยิบย่อยของอาหารแต่ละชนิด […]

การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ป.โท กฎหมาย

การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์กฎหมาย ปริญญาโท นิติศาสตร์ สิ่งหนึ่งที่คนเรียนกฎหมายในระดับปริญญาโทจะต้องเจอก็คือ “วิทยานิพนธ์” ที่เรียกติดปากกันว่า ทีสิส (thesis/dissertation) ซึ่งเจ้าวิทยานิพนธ์นี่เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจบ ป.โท นิติศาสตร์ จะจบไม่จบก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จและสอบป้องกันผ่านหรือไม่ ทว่า งานยากแรก ๆ ของการทำวิทยานิพนธ์ก็คือ จะไปหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากไหนกันล่ะ ถ้าเราเข้าใจจุดตัดที่แตกต่างระหว่างการเรียนกฎหมายปริญญาตรีกับปริญญาโทได้ เราจะเริ่มพอเข้าใจว่าควรจะงมหาหัวข้อวิทยานิพนธ์จากไหน ในชั้นปริญญาตรี ความต้องการสำคัญก็คือ นิสิตนักศึกษาที่มาเรียนคณะนิติศาสตร์ต้องรู้และเข้าใจตัวบทกฎหมาย วิธีคิดทางกฎหมาย รวมไปถึงสามารถนำกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงได้ แต่ในระดับปริญญาโท มันเป็นเรื่องของการทำวิจัยศึกษาค้นคว้าเชิงลึกลงไปว่า ทำไมกฎหมายถึงเป็นแบบนี้ (ทำไมกฎหมายไม่เป็นแบบนั้นแทน) เรื่องนี้มีทฤษฎีสำคัญเบื้องหลังอะไร และเราสามารถชี้ไปถึงปัญหา ศึกษา ค้นคว้า หาข้อสรุป หรือให้ข้อเสนอแนะอะไรกับวงการนิติศาสตร์ได้ไหม ๑. […]

ทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์ของ Hans Kelsen

Pure Theory of Law: Hans Kelsen Hans Kelsen (ฮันส์ เคลเซ่น) คือ นักนิติศาสตร์ผู้ที่มีเป้าหมายในการแยกวิชา “นิติศาสตร์” (science of law – jurisprudence) ออกจากศีลธรรม ความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรม จริยศาสตร์ สังคมวิทยา จิตวิทยา ชีววิทยา เทววิทยา การเมือง ฯลฯ โดยเคลเซ่นมองว่าเราควรจะต้องแยก “กฎหมายที่เป็นอยู่” กับ “กฎหมายที่ควรจะเป็น” ออกจากกัน เพราะมันมีความแตกต่างกันอย่างมาก หากเราต้องการจะทำให้วิชานิติศาสตร์มีลักษณะเป็นศาสตร์อย่างแท้จริง จะต้องทำให้วิชานิติศาสตร์มุ่งอธิบายกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่จริงในบ้านเมือง […]

การเลือกปฏิบัติในการเลือกลูกขุน

การเลือกปฏิบัติในการเลือกลูกขุน บทความโดย ศรัณย์ พิมพ์งาม หากใครดูหนังที่มีฉากเกี่ยวกับคดีอาญาจากฝั่งสหรัฐอเมริกา เราจะเห็นว่ากระบวนพิจารณาคดีอาญาในสหรัฐอเมริกาใช้ระบบลูกขุน (Jury System) เป็นเอกลักษณ์ติดตา (ขนาดคนอเมริกันเองก็เห็นจนชินตาผ่านหนังด้วย)1 คราวนี้มีคำถามว่า ระบบการคัดเลือกลูกขุนของสหรัฐ ป้องกันปัญหาการเลือกปฏิบัติจากเชื้อชาติ (Racial Discrimination) ที่คุ้นหูหน่อยก็คือ ป้องกันการเหยียดเชื้อชาติ เหยียดผิวอย่างไร ทำอย่างไรให้องค์คณะลูกขุนประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติ สีผิว ผลจากการศึกษาพบว่า เรื่องนี้ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่นักกฎหมายของสหรัฐอเมริกาต้องการแก้ไขปัญหาอยู่ครับ 1. ลูกขุนคือใครและระบบลูกขุนคืออะไร ในเชิงทฤษฎีกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ลูกขุนมีอำนาจอย่างมากและแทบจะไม่ถูกควบคุมโดยใคร2 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน (Right to Trial by Jury) เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ระบบลูกขุนตั้งอยู่บนรากฐานความคิดและความเชื่อที่ว่า การใช้คนธรรมดาสามัญในการตัดสินคดีจะอำนวยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย […]

ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: แนะนำหนังสือ

แนะนำหนังสือ: ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ – มุนินทร์ พงศาปาน ก่อนที่จะมีหนังสือ “ระบบกฎหมายซีวิลลอว์: จากกฎหมายสิบสองโต๊ะสู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” ของ ผศ.ดร. มุนินทร์ พงศาปาน ออกสู่ท้องตลาด ในความคิดของผมนั้น วงการหนังสือกฎหมายของไทยขาดหนังสือเล่มที่อธิบายอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ (Civil Law) ที่อรรถาธิบายอย่างดีว่าเพราะอะไรหรือเหตุผลประกอบใดถึงยืนยันว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ ซึ่งคุณูปการสำคัญยิ่งของหนังสือเล่มนี้ของอาจารย์มุนินทร์ คือ การอธิบาย การให้ความรู้ การตอบคำถาม และการเพิ่มแหล่งอ้างอิงให้แก่วงการวิชาการไทยต่อไปว่า ประเทศใช้นั้นใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ แม้นิสิตนักศึกษาคณะนิติศาสตร์น่าจะได้เรียนกันตั้งแต่ปีหนึ่งว่าประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ แต่ความเข้าใจผิด ๆ ก็ยังคงมีอยู่มาก เช่น หลายคนก็จำแต่เพียงว่าระบบกฎหมายซีวิลลอว์คือระบบกฎหมายที่ใช้ประมวลหรือมีประมวลกฎหมายเท่านั้น และพอเรียนกฎหมายไปสักพักในชั้นปีโต ๆ ก็เริ่มเห็นว่าบางครั้งแนวทางตีความกฎหมายของศาลก็ดูจะคล้ายกับแนวทางของระบบกฎหมายคอมมอลอว์ […]

วิศวกรแห่งยุค AI และ China ผ่านฉากชีวิตของ ธัญพิสิษฐ์ เฉิน

Facebook: Business Analysis of Law ธัญพิสิษฐ์ เฉิน เรื่อง ศรัณย์ พิมพ์งาม เรียบเรียง “ธัญพิสิษฐ์ เฉิน” หรือที่เราสามารถเรียกชื่อเล่นสั้น ๆ ของเขาว่า “ฉวน” วิศวกรหนุ่มหัวกะทิจากมหาวิทยาลัยชิงหัว ฉวนเป็นคนที่ทำให้ผมเกิดความประทับใจมาก ๆ และชื่นชมความสามารถจนถึงกับต้องขอสัมภาษณ์ เพราะเชื่อว่าแนวคิด ทัศนคติ เรื่องราวชีวิตของฉวนในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในจีนมาเกือบสิบห้าปี และเป็นผู้ที่ได้สัมผัสการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของจีนนับไม่ถ้วนในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา อีกทั้งฉวนยังเป็นวิศวกรที่ได้สัมผัสการเรียนการสอนจากมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของจีนอย่างมหาวิทยาลัยชิงหัว (清华大学: Tsinghua University) (อันดับหนึ่งแห่งภูมิภาคเอเชียวัดโดย THE)1 ชิงหัวเป็นสถาบันศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นเลิศ แหล่งรวมหัวกะทิและเด็กอัจฉริยะจากทั่วทั้งเมืองจีน […]

TransferWise: ธุรกิจโอนเงินแบบตัดตัวกลาง

1. ความผิดพลาดที่นำไปสู่ธุรกิจมูลค่ากว่าห้าหมื่นล้านบาท TransferWise ก่อต่อตั้งโดยชาวเอสโตเนีย ชื่อ “Kristo Kaarmann” โดยจุดเริ่มมาจากที่ Kaarmann ตอนอายุ 28 ทำงานเป็นที่ปรึกษาธุรกิจอยู่กรุงลอนดอนแล้วได้โบนัส 10,000 ปอนด์ ขณะนั้นอัตราดอกเบี้ยที่บ้านเกิดเขาคือประเทศเอสโตเนียดีกว่ามาก Kaarmann จึงอยากจะโอนเงินกลับบ้าน ซึ่งธนาคารอังกฤษคิดค่าธรรมเนียมการโอน 15 ปอนด์ ความตะลึงก็คือ พอเงินเข้าบัญชีที่เอสโตเนีย เขาตกใจมากที่เงินหายไปราว ๆ 500 ปอนด์ (5% ของเงินต้น) อันเกิดจากค่าธรรมเนียมการโอนข้ามประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารอังกฤษคิดสูงกว่าตลาด เขารู้สึกหัวเสียกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาก ๆ แต่การหัวเสียนี้ไม่ใช่แบบคนทั่วไปที่หัวเสียแล้วก็หงุดหงิดฟึดฟัดแป๊บเดียว เพราะ Kaarmann ตัดสินใจที่จะสร้างธุรกิจโอนเงิน […]